สัตวแพทย์ มก. ช่วยฟื้นฟูสุขภาพแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

สัตวแพทย์ มก.

แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย ถือว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ที่มีสถานภาพ “ใกล้ถูกคุกคามต่อการสูญพันธุ์” และเป็นนกอพยพย้ายถิ่นในฤดูหนาว ขนาดใหญ่ ปีกยาว 2.9 เมตร มาจากถิ่นกำเนิดบนเทือกเขาหิมาลัย และภาคตะวันตกของประเทศจีน บินร่อนมากับลมหนาว ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป เข้าสู่ประเทศไทยในภาคเหนือ 10 – 30 ตัว ทุกปี แต่ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการซากปศุสัตว์ ที่เป็นอาหารหลักของแร้งที่จะกินซากสัตว์ตาย ไม่ล่าสัตว์มีขีวิต ต่างจากเหยี่ยวหรือนกอินทรี ทำให้แร้งหิมาลัยอพยพเหล่านี้บางตัว ขาดอาหาร เพราะซากสัตว์ในธรรมชาติลดลง จึงหมดแรงร่วงลง

 

ผศ. น.สพ. ดร.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว หัวหน้าหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ร่วมกับสถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดและสถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ปล่อยแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย ที่มีประวัติขาดอาหาร หมดแรง แล้วรับการฟื้นฟูจนสุขภาพแข็งแรง จำนวน 2 ตัว เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2559 ณ หุบอนาคิน ดอยลาง อ. แม่อาย จ.เชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บนชายแดนไทย-เมียนมา ที่ระดับความสูง 2,000 เมตร โดยประมาณ เป็นจุดที่ตั้งอยู่บนเส้นทางอพยพของแร้งหิมาลัยในประเทศไทย และในเดือนเมษายน เป็นฤดูกาลอพยพของนกอพยพกลับถิ่นเกิด (spring migration) สำหรับแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยที่ปล่อย 2 ตัว

 

SHARE THIS POST